จุดเริ่มต้น สถานที่แห่งแรก
เมื่อประมาณกลางเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ พระมหาสมพร สมวโร (พระอมรโสภณ) และพระพนมศักดิ์ พุทฺธญาโณ พร้อมด้วยโยม ๒ คน ได้เดินทางจากรัฐเท็กซัสมายังนครลอส แองเจลีส รัฐ แคลิฟอร์เนีย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการมาดูภูมิประเทศในแถบนี้ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้พอที่จะวางรากฐาน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้มากน้อยแค่ใหน ด้วยได้อาศัยบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งครอบครัวลีบูราจิน มีจิตศรัทธาถวายให้เป็นที่พักสงฆ์ และได้อาศัยบ้านหลังนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยการแนะนำสั่งสอน โดยเน้นการฝึกอบรมสมาธิภาวนา จากเริ่มต้นมีผู้สนใจมาปฏิบัติไม่กี่คน และได้เพิ่มจำนวนมาขึ้นโดยลำดับ จนทำให้สถานที่ตรงนี้ไม่เพียงพอในการรองรับผู้มาทำบุญและปฏิบัติธรรม หลังจากมาอยู่ประมาณหนึ่งอาทิตย์ พระมหาสมพร สมวโร เดินทางกลับไปเท็กซัส พระอาจารย์เคล็ม ปิยธโร (พระครูเกษมคุณารักษ์) เดินทาง มาช่วยพระพนมศักดิ์ เผยแผ่พระพุทธศาสนา
สถานที่แห่งที่สอง
ครอบครัวลีบุรจินต์ ยังมีบ้านอีกหลังหนึ่งใหญ่กว่า มีลักษณะเป็นบ้านสองชั้นตั้งอยู่บนที่สูงมองเห็นทิวทัศน์สวยงามอยู่ในเขตเมืองเกลนโดรา รัฐเดียวกัน ครอบครัวลีบุรจินต์ ผู้ซึ่งมีจิตศรัทธาถวายบ้านหลังแรก เห็นว่าสถานที่นี้ไม่เพียงพอที่จะรองรับศรัทธาญาติโยม จึงได้นิมนต์พระสงฆ์มาพำนักอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๒๗ ได้มีพระเถระอีกรูปหนึ่ง คือพระอาจารย์ตรีคูณ สุทธิจิตฺโต วัดป่าประโคนชัย จ. บุรีรัมย์ เดินทางมาสมทบช่วยงานพระศาสนา ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ เดือนมิถุนายน ๒๕๒๗ พระมหาเหรียญ ธนลาโภ วัดธรรมมงคลกรุงเทพ ฯ เดินทางมาร่วมงานการเผยแผ่อีกรูปหนึ่งในขณะที่อาศัยอยู่ที่ตรงนี้ในระยะแรก ๆ ยังไม่มีกิจกรรมอะไรมาก นอกจากเน้นการเทศนาอบรมและสอนปฏิบัติสมาธิภาวนาโดยยังไม่มีเป้าหมายที่สร้างเป็นวัดที่ถาวร เนื่องจากต้องการดูกำลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมีมากน้อยแค่ไหน เมื่อการดำเนินการสอนอบรม มีพุทธศาสนิกชนได้ให้ความสนใจมาทำบุญและปฏิบัติธรรมจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ จนมีความมั่นใจว่า น่าจะเริ่มสร้างวัดขึ้นมาได้แล้วในพรรษาแรก ปี พ ศ ๒๕๒๗ มีพระสงฆ์จำพรรษา ๓ รูป คือ ๑ พระอาจารย์เคล็ม ปิยธโร พระมหาเหรียญ ธนลาโภ พระอาจารย์ตรีคูณวิสุทฺธิจิตฺโต สำหรับพระพนมศักดิ์ พุทฺธญาโณ เดินทางไปจำพรรษาที่ วัดพุทธดัลลัส รัฐเท็กซัส
จดทะเบียนการสร้างวัด
เมื่อพิจารณาเห็นว่าพุทธศาสนิกชนมีศรัทธาปรารถนา อยากให้สร้างเป็นวัดที่ถาวรขึ้นมา จึงได้มอบให้ ม.ร.ว. จุฑาภา วรวรรณ เป็นผู้ดำเนินการขอจดทะเบียนเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ชื่อภาษาไทยว่า "วัดป่าธรรมชาติ" และชื่อภาษาอังกฤษว่า Wat Padhammachart และเริ่มหาสถานที่เพื่อสร้างวัดหลังจากจดทะเบียนแล้วได้พิจารณาเรื่องสถานที่จะสร้างเป็นวัด สถานที่อยู่ปัจจุบันนี้ยังแคบไม่เหมาะที่จะสร้างเป็นวัดขึ้นมาได้ จึงเลือกหาสถานที่เหมาะสมต้องประกอบด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
1. ต้องมีเนื้อที่กว้างเพียงพอ ประมาณ 4-5 เอเคอร์ ขึ้นไป
2. ต้องอยูไม่ไกลเมืองมากเกินไป
3. ต้องมีป่าเพื่อจะได้สอดคล้องกับชื่อของวัด ใช้เวลาในการเลือกหาสถานที่เหมาะสมเป็นเวลาเกือบ 1 ปี จึงได้พบที่ที่อยู่ปัจจุบัน
ที่อยู่ปัจจุบัน
เมื่อมาพบที่อยู่ปัจจุบันครั้งแรก ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกเอา เพื่อต้องการหาสถานที่ดีกว่านี้ แต่ก็ไม่สามารถหาที่ได้ จึงตัดสินใจเลือกสถานที่ตรงนี้ โดยเจ้าของที่เสนอราคาขาย ๔๕๐,๐๐๐ ดอลลาร์ ทางวัดได้ต่อรองราคาลดลงเหลือ ๓๘๐,๐๐๐ ดอลลาร์ เมื่อตกลงเรื่องราคาเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแล้ว จึงได้เปิด Escrow วางเงินดาว ๘๐,๐๐๐ ดอลลาร์ ส่วนที่เหลือหาแหล่งเงินกู้ คุณยงเกียรติ ปัตตะพงษ์ เป็นผู้ดำเนินการหา โดยที่ธนาคารไทย ๒ แห่ง คือธนาคารไทยพาณิชย์ กับธนาคารกสิกรไทย สาขานครลอสแองเจลิส ให้เงินกู้ จำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์ ผ่อนชำระเดือนละ ๖,๐๐๐ ดอลลาร์ (ได้ผ่อนชำระหมดแล้วตั้งปี ๒๕๓๒) มีผู้ค้ำประกัน ๔ คน คือ ๑. คุณสมชาย วิเศษมิตร ๒. คุณนิวัฒน์ ๓. คุณเชาวพจน์ ถุงสุวรรณ และ ๔. คุณมานิตย์ รสสุนทร และได้ปิด Escrow เมื่อวันที่ ๑๗ เดือนกรกฎาคม ๒๕๒๘ เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากปิด Escrow ได้ ๒ วันก่อนวันปิด Escrow ผู้ค้ำประกันท่านหนึ่ง ได้พูดขึ้นว่า พวกเราที่เซ็นค้ำประกันทุกคน จะต้องเซ็นมอบโอนที่ดินให้เป็นชื่อของวัดทันที ถ้าเพื่อว่าพวกเราผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งเกิดเป็นอะไรขึ้นมา ที่ดินของวัดก็ไม่สามารถโอนได้ หลังจากปิด Escrow ได้เพียง ๒ วัน ผู้ร้ายเข้าไปปล้นร้านลิเคอร์ ยิงท่านที่กล่าวนั้นเสียชีวิต (คุณสมชาย วิเศษมิตร)
ย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบัน
หลังจากปิด Escrowแล้ว จึงได้ย้ายจากเกลนโดรา มาอยู่ที่ปัจจุบัน เมื่อวันที่๓๐ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เลขที่ ๑๔๐๓๖ ถนนดอนจูเลี่ยน เมืองลาพวนเต้ รัฐแคลิฟอร์เนีย (14036 Don Julian, La Puente, California) มีเนื้อที่ ๕ เอเคอร์ หรือประมาณ ๑๒ ไร่ครึ่ง ในปีแรกที่ย้ายเข้ามามีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ๖ รูป ได้แก่ ๑. พระอาจารย์สุวัฒน์ สุวโจ (พระโพธิญาณธรรมเถระ) ๒. พระอาจารย์เคล็ม ปิยธโร ๓. พระมหาทวยเทพ สุภาจาโร (พระครูปลัดสุวัฒนพรหมจคุณ) ๔ พระพนมศักดิ์ พุทธญาโณ ๕. พระมหาทวีสุข และ ๖. พระบุญเลี้ยง ปุญฺญรกฺขิตฺโต ส่วนพระมหาเหรียญ ธนลโภ หลังจากย้ายมาที่ปัจจุบันได้วันเดียว ท่านเดินทางไปจำพรรษาที่ประเทศอินเดียและอยู่ที่นั้น ๘ เดือนจึงได้เดินทางกลับมาประจำที่วัดป่าธรรมชาติ เมืองลาพวนเต้ อีกประมาณเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๙
การพัฒนาทางด้านวัตถุ
หลังจากย้ายเข้ามาอยู่ที่ใหม่ยังไม่ได้ก่อสร้างอะไรมาก นอกจากได้ดัดแปลงโรงจอดรถและที่ทำงานของเจ้าของบ้าน ให้เป็นศาลาปฏิบัติธรรม ทำความสะอาดและปรับปรุงบริเวณวัดให้สะอาดเป็นระเบียบ ในระยะต่อมาก็ยังไม่สามารถก่อสร้างอะไรได้ เนื่องจากสถานที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเพียงแต่ดัดแปงโรงจอดรถอีกหลังหนึ่งให้เป็นที่พักสำหรับอุบาสิกา ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นห้องเรียนชั่วคราวสำหรับเด็กวันอาทิตย์ ทำความสะอาดและปรับปรุงสถานที่บริเวณ ตลอดถึงปลูกต้นไม้เสริมขึ้นมาอีก
ซื้อที่ดินขยายบริเวณวัด
ทางวัดได้ชื้อดินซึ่งอยู่ติดกับเขตวัดทางตะวันตก ๓ ครั้ง ครั้งแรกซื้อเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๔ มีเนื้อที่ครึ่ง เคอร์ ราคา ๒๕๕,๐๐ ดอลลาร์ วางเงินดาวน์ ๙๗,๐๐๐ ดอลลาร์ ที่เหลือผ่อนชำระกับธนาคารเดือนละ ๑,๘๐๐ ดอลลาร์ ครั้งที่สองซื้อบ้านเลขที่ ๕๔๔ มีเนื้อที่ครึ่งเอเคอร์ เมื่อเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ในราคา ๒๗๙,๐๐๐ ดอลลาร์ วางมัดจำ ๓๓,๐๐๐ ดอลลาร์ ที่เหลือผ่อนชำระกับธนาคารเดือนละ ๑,๗๑๓ ดอลลาร์ ครั้งที่สามซื้อบ้านเลขที่ ๕๕๒ มีเนื้อที่ครึ่งเอเคอร์ เมื่อเดือนมิถุนายน ในราคา ๑๙๐,๐๐๐ ดอลลาร์ วางเงินดาวน์ ๖๐,๐๐๐ ดอลลาร์ ที่เหลือผ่อนชำระกับธนาคารเดือนละ ๑,๔๐๐ ดอลลาร์ ปัจจุบัน (ปี๒๕๔๕) วัดมีเนื้อที่ ๖ เอเคอร์ครึ่งหรือประมาณ ๑๗ ไร่
การดัดแปลงต่อเติมและก่อสร้าง
ได้ดัดแปลงโรงจอดรถอีกหลังหนึ่งเป็นสำนักงาน(ขณะนี้ได้เปลี่ยนเป็นห้องเรียนชั่วคราวสำหรับเด็กวันอาทิตย์)
ก่อสร้างห้องน้ำสาธารณะ ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๖,๘๐๐๐ ดอลลาร์และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ได้เริ่มปรับพื้นที่เพื่อจะสร้างอุโบสถและศาลาอเนกประสงค์ขออนุญาตใช้สถานที่ประกอบพิธีกรรม
ทางศาสนา(Hearing) การสร้างวัดในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎเกณฑ์และขั้นตอนแตกต่างจากเมืองไทย
โดยมีหลักเกณฑ์ใหญ่ ๆ ๓ ประการ
๑. ขออนุญาตจดทะเบียนเป็นวัด
๒. อนุญาตยกเว้นภาษี
๓. ขออนุญาตใช้สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (ยกเว้นสถานที่นั้นอยู่เขตการค้า อุตสาหกรรม หรือโบสถ์
เก่าไม่ต้องขออนุญาตเรื่องสถานที่ แต่ต้องขออนุญาตเรื่องการก่อสร้าง)
สำหรับข้อ ๑ - ๒ วัดป่าธรรมชาติได้ขออนุญาตเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ ยังเหลือข้อ ๓
คือการขออนุญาตใช้สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เนื่องจากที่วัดอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย และการเกษตร
จึงต้องขออนุญาตใช้สถานที่
HEARING
การดำเนินการขออนุญาตใช้สถานที่เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต้องยื่นเรื่อง ๔ ครั้งใช้เวลา ถึง ๘ ปี
จึงได้รับอนุญาตครั้งแรกเริ่มยื่นเรื่องศาลชั้นต้น เพื่อขออนุญาตเมื่อปี ๒๕๓๐ โดยมี ม.ร.ว. จุฑาภา วรวรรณ
เป็นผู้ดำเนินการ หลังจากรอบรวมเอกสารพร้อมยื่น County เมื่อถึงกำหนดนัดฟังความเห็นของเพื่อนบ้าน (Hearing) ปรากฏว่ามี เพื่อนบ้านไปขัดค้านประมาณ ๑๐๐ กว่าครอบครัว ด้วยอ้างเหตุผลว่า ทางวัดทำเสียงดัง กลิ่นธูป กลิ่นการปรุงอาหารแรง สุนัขเห่าเสียงดัง ไก่ขันเสียงดัง ทำให้การจราจรติด เป็นต้น คณะกรรมพิจารณา (Commissioner) จึงปฏิเสธโดยไม่มีการพิจารณาใด ๆ
เมื่อการยื่นเรื่องครั้งแรกประสพความล้มเหลว จึงได้เตรียมข้อมูลเอกสารให้พร้อมเพื่อที่ยื่นศาลอุธรณ์ เป็นครั้งที่สอง พร้อมกับดำเนินการติดต่อกับเพื่อนบ้านที่คัดค้านครั้งแรก เพื่ออธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการที่พวกเรามาสร้างวัด
และเพื่อนบ้านส่วนมากเข้าใจวัตถุประสงค์ของเรา เมื่อถึงวัน Hearing ครั้งที่สองยังมีเพื่อนบ้านคัดค้านอีก ๓ ครอบครัว ทางคณะกรรมการพิจารณาตอนแรกทำท่าจะพิจารณาให้ผ่าน พอสุดท้ายพิจารณาปฏิเสธอีก ด้วยอ้างเหตุผลว่ายังมีชาวบ้านคัดค้านอยู่เมื่อถูกปฏิเสธเป็นครั้งที่สองทางคณะผู้ดำเนินการก็ไม่ละความพยายาม
จึงดำเนินการต่อไป ด้วยการเตรียมเอกสารยื่นต่อศาลฎีกา เป็นครั้งที่ ๓ พร้อมกับแก้ปัญหาที่ชาวบ้านคัดค้าน
ถึงวันHearing ยังมีเพื่อนบ้านไปคัดค้านอีกเพียง ๑ ครอบครัว แต่ยังถูกปฏิเสธอีกเช่นเคยการดำเนินการขออนุญาต
ได้ถูกปฏิเสธ ๓ ครั้งคณะผู้ดำเนินการมีความเห็นว่าควรย้ายไปหาที่ใหม่ดีกว่า แต่เจ้าอาวาสพิจารณาว่าควรจะอยู่ท
ี่ตรงนี้ต่อไป เพราะสถานที่กว้างขวางมีต้นไม้ร่มรื่นคงหาได้ไม่ง่ายนัก จึงตัดสินใจอยู่ตรงนี้ต่อไป
ด้วยการยังไม่ดำเนินการอะไร ปล่อยให้วันเวลาล่วงเลยมาประมาณ ๒ ปีเศษ จึงได้เริ่มรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ
อีกครัง เพื่อที่จะยื่นเรื่องขออนุญาตใหม่ พร้อมกับคณะทีมงานชุดใหม่ ประกอบ ด้วย คุณปรีชา (แอนดี้) ยูมีน
คุณศุภผกา ตันติสุพพัต และมิสเตอร์โรเบิร์ต ไกเกอร์ ใช้เวลาในการวบรวมเอกสาร ตลอดถึงติดต่อเพื่อนบ้านเพื่อทำ
ความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ก็มีเพื่อนบ้านยังคัดค้านอยู่ คณะผู้ทำงานชุดนี้ ก็ไม่ละความพยายามด้วยการไปขอลายเซ็นจากเพื่อนบ้านจนกระทั่งไปรับลายเซ็นต์ยอมรับประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ และด้วยเหตุบังเอิญหรือเป็นความโชคดีของวัดที่ต้องต่อสู้มาเป็นเวลาถึง ๘ ปี ปรากฏว่าก่อนถึงวันนัดการฟัง Hearing
ครั้งแรกในการยื่นเรื่องใหม่ประมาณ ๒ เดือน เพื่อนบ้านที่เป็นหัวหน้าคัดค้านมาตลอด เกิดเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย ความหวังที่พวกเราชาววัดป่าธรรมชาติได้เฝ้ารอคอยมาเป็นเวลา ๘ ปีและวันที่ ๖ เดือนธันวาคม ๒๕๓๗ เป็นวัน
ประวัติศาสตร์ของวัดป่าธรรมชาติ ที่ต้องจารึกไว้ชั่วกาลนาน นั้นก็คือเป็นวันที่ผ่านการ Hearing หมายถึงได้รับ
อนุญาตจาก County ให้ใช้สถานที่ตรงนี้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้ตั้งแต่วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๓๗ เป็นต้นไป โดยไม่ต้องไปเช่าสถานที่ข้างนอกประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอีกแล้ว
งานด้านการเผยแผ่
งานการเผยแผ่ถือเป็นงานหลักที่วัดป่าธรรมชาติจะต้องดำเนินการให้ได้ผลและมีประสิทธิ์ภาพ โดยเฉพาะจะเน้นการพัฒนาทางด้านจิตใจฐานตามที่ทางวัดได้ดำเนินมาพอสรุปได้ดังนี้
๑. มีการสวนมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นอบรมสมาธิภาวนา จะมีการอบรมสมาธิภาวนาทุกวัน ๆละ ๒-๓ ครั้ง นอกจากมีการอบรมประจำวันแล้วยังมีการจัดบวชอบรมพิเศษ เช่น จัดบวชวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือมาฆบูชา
วิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา ตลอดถึงวันสำคัญของชาติ เช่น เฉลิมพระชมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และ
ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นต้น
๒. จัดให้มีการให้ธรรมก่อนอนุโมทนาฉันทุกวัน โดยถือหลักที่ว่า เมื่อญาติโยมให้วัตถุทาน
พระสงฆ์ก็ต้องตอบแทนด้วยการให้ธรรมทาน และ ยังต้องการให้ผู้ที่มาทำบุญทุกครั้งเพิ่มจากการให้ทานและฟังธรรมแล้ว
ยังเพิ่มการสวดมนต์ทำวัตรเช้าทุกวัน ขณะที่พระสงฆ์กำลังฉันภัตตาหารอยู่ ด้วยการเปิดเทป วี ดิ ทัศน์ นำการสวด นอกจากนี้ยังจัดให้มีการเทศน์มหาชาติภายในพรรษาของทุกปี
๓. มีการจัดอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน เพื่อเป็นการปลูกฝังศิลปวัฒนธรรมไทยและหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา
อันเป็นการเสริมสร้างคุณธรรมอันดีงาม แก่เยาวชนไทยที่เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการอบรมแบบธรรมดาคือ
ไม่ต้องบวชบ้าง จัดบรรพชาสามเณรบ้าง ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจยิ่ง
การให้การศึกษา
นอกจากการพัฒนาทางด้านจิตใจแล้ว ทางวัดยังไม่ทิ้งการให้การพัฒนาทางสติปัญญานั้นก็คือ การให้การศึกษาทางปริยัติหรือทางด้านวิชาการโดยได้ให้การศึกษา ดังนี้
๑. ให้การศึกษาด้านปริยัติธรรมซึ่งวัดป่าธรรมชาติ ได้รับอนุมัติจากแม่กองธรรมสนามหลวง แผนกธรรม
เปิดสำนักเรียนปริยัติธรรม ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗ และเมื่อวันที่ ๑๘-๑๙ธันวาคม ๒๕๓๗ มีการเปิด
สอบธรรมสนามหลวงเป็นครั้งแรก ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่วัดป่าธรรมชาติ เมืองลาพวนเต้ และที่วัดไทยนอรธ์ฮอลิวูด และเป็นแห่งที่สองที่มีการอนุมัติการสอนการสอบธรรมสนามหลวงขึ้นในต่างประเทศแห่งแรกได้แก่ประเทศมาเลเซีย
ซึ่งได้อนุมัติมา ๔๐ กว่าปีแล้ว โดยมีพระสุธรรมาธิบดี แม่กองธรรมสนามหลวงเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ และ
คุณพนม พงษ์ไพบูลย์ อธิบดีกรมการศาสนาพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้ากรมการศาสนา สำหรับสำนักเรียน
วัดป่าธรรมชาติได้ดำเนินการสอนและสอบมาจนถึงปํจจุบัน มีผู้สนใจสมัครเรียนจนสอบผ่านธรรมศึกษาชั้นสูงสุด
คือธรรมศึกษาชั้นเอกแล้วกว่า ๓๐๐ คน และจะสอนไปตลอดซึ่งจะมีการสอบวัดผลประจำปีประมาณเดือนเมษายน
ผู้ใดสนใจ เชิญสมัครเรียนได้ที่วัดป่าธรรมชาติ
๒. ให้การศึกษาแก่เยาวชน ด้วยการสอนภาษา และศิลปวัฒนธรรมไทย ดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย ตลอดสอนหลักคำสอนในทางพระพุทธศสนา
ทุกวันอาทิตย์ โดยมีคณะครูที่เป็นพระธรรมทูต ครูอาสาสมัครประจำท้องถิ่น และอาสาสมัครประจำการ ๑ ปี จากมหาวิทยาบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นครูสอน ซึ่งเปิดสอนมาตั้งแต่ปี ๒๔๓๗ จนถึงปัจจุบัน และได้รับอนุญาตจากกรมการศึกษานอกเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดสอนหล้กสูตรการเรียนทางไกลที่วัดป่าธรรมชาติ
เมื่อปี ๒๕๔๕ ปัจจุบัน ( ปี ๒๕๕๔ ) มีนักเรียนสมัครเรียน ๖๑ คน และจะมีการรับสมัครนักเรียน ในวันที่ ๑-๓๑ สิงหาคม ของทุกปี
ด้านสังคมสงเคราะห์
ทางวัดได้มีการช่วยเหลือด้านสังคมสงเคราะห์ เช่น บริจาคให้กับสภากาชาดอเมริกา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ เช่นเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมืองนอพธทริค เมื่อ ๒๕๓๗ ทางวัดได้จัดทำอาหารใส่กล่องไปแจก
ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากแผ่นดินไหวครั้งนั้นวันละ ๕๐๐ กล่อง เป็นเวลา ๗ วัน บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ธรรมชาติที่ประเทศไทย เช่นน้ำท่วมเป็นต้น นอกจากนี้ยังให้การแนะนำและให้การปรึกษาแก่ผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ
ตามความเหมาะสม ตลอดถึงออกเยี่ยมเยียนญาติโยมที่เจ็บป่วยตามความเหมาะสมและโอกาสอำนวย
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
วัดป่าธรรมชาติ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันหาประมาณมิได้ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้าพระกฐินมาทอด ณ
วัดป่าธรรมชาติตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๐ , ๒๕๔๒ และตั้งปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
และสมเด็พระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารีทรงพระราชทานผ้าพระกฐิน นำมาทอดถวาย ปี
พ.ศ. ๒๕๔๓ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราช
ทานทรงพระสุหร่ายแผ่นศิลาฤกษ์อุโบสถ ซึ่งทางวัดได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๖
ธันวาคม ๒๕๔๑ พร้อมกับทรงราชานุญาตตราสัญลักษณ์ งานฉลองครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา
เพื่อติดที่หน้าบันอุโบสถ
จำนวนพระภิกษุสามเณรจำพรรษา
พระภิกษุสามเณรที่อยู่วัดป่าธรรมชาติมีจำนวนไม่แน่นอน แต่สามารถทราบจำนวนที่แน่นอนได้ใน
ช่วงของการเข้าพรรษาเท่านั้นซึ่งมี จำนวนแต่ละปีดังนี้
พ.ศ. ๒๕๒๗ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๓ รูป พ.ศ. ๒๕๒๘ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๖ รูป
พ.ศ. ๒๕๒๙ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๓ รูป พ.ศ. ๒๕๓๐ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๔ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๑ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๔ รูป พ.ศ. ๒๕๓๒ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๕ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๓ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๕ รูป พ.ศ. ๒๕๓๔ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๙ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๕ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๗ รูป พ.ศ. ๒๕๓๖ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๕ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๗ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๔ รูป พ.ศ. ๒๕๓๘ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๗ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๙ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๘ รูป พ.ศ. ๒๕๔๐ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๘ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๑ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๔ รูป พ.ศ. ๒๕๔๒ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๐ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๓ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๘ รูป พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๖ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๕ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๘ รูป พ.ศ. ๒๕๔๖ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๔ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๗ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๒ รูป พ.ศ. ๒๕๔๘ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๖ รูป
พ.ศ. ๒๕๕๐ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๙ รูป
พ.ศ. ๒๕๕๑ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๙ รูป
พ.ศ. ๒๕๕๔ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๓ รูป
พ.ศ. ๒๕๕๕ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๔ รูป
พ.ศ. ๒๕๕๖ มีพระภิกษุจำพรรษา จำนวน ๑๓ รูป
สำหรับเรื่องการก่อสร้างถาวรวัตถุ
ทางวัดได้สร้างเสร็จแล้วมี ๔ รายการ คือ อุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ สำนักงาน และที่จอดรถ
และใด้ประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๑