พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)
อ.บึงกาฬ จ. หนองคาย
ประวัติพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มีชาติกำเนิดในสกุล "นรมาส" เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ บ้านเหล่ามันแกว บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี
บิดาท่านชื่อ ลา มารดาชื่อ แหวะ สกุลเดิม วงศ์จันทร์ บรรพบุรุษของท่านอพยพมาจากเวียงจันทน์ เป็นอุปฮาดของเมืองเวียงจันทน์ เมื่อมีภัยสงครามเกิดขึ้น เวียงจันทน์แตก อุปฮาดผู้เป็นต้นตระกูลก็พาครอบครัวอพยพมา ครั้งแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองวัวลำภู ต่อมาย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง กระทั่งท้ายที่สุดมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
บิดามีอาชีพทำนา และมีความรู้ทางด้านสมุนไพรมาก เพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงได้อาศัยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย คือเป็นหมอประจำหมู่บ้าน เป็นที่รักใคร่นับถือ และได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งบิดาของท่านก็ดำรงตำแหน่งนี้มาตลอดจนถึงแก่กรรม ขณะนั้นท่านอายุได้ 16 ปี
ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คนด้วยกัน มีชื่อตามลำดับดังนี้
๑. นายเหีย นรมาส ถึงแก่กรรม
๒. นายแดง นรมาส
๓. นายโลน นรมาส ถึงแก่กรรม
๔. นางน้อยแสง หมายสิน
๕. นายอ่อนจันทร์ นรมาส.
๖. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
๗. นายนวล นรมาส
ตามชนบทในสมัยนั้นโรงเรียนมีน้อยมาก ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ในตำบลหนึ่ง ๆ มิได้มีโรงเรียนครบทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านใดไม่มีโรงเรียนเด็กก็ต้องมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนในหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งต้องเดินนับเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร ผู้ปกครองจะยอมให้บุตรหลานไปเรียนหนังสือจึงต้องให้โตพอประมาณ คือ อายุ ๙-๑๐ ท่านอาจารย์ก็เช่นเดียวกันเริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุครบ ๙ ขวบเต็ม ต้องเดินไปโรงเรียนที่อีกหมู่บ้าน คือที่บ้านดงมะยาง จนขึ้นชั้นประถมปีที่ ๓ โรงเรียน จึงย้ายมากอยู่ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ติดกับบ้านเหล่ามีนแกว อันเป็นบ้านเกิด ท่านได้เรียนรู้ที่โรงเรียนนี้จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของตำบลชนบทละแวกนั้น ระหว่างเรียนเป็นผู้เรียนดี ฉลาดและขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง สอบไล่ได้ที่ ๑ โดยตลอด ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ จนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับคำชมเชยยกย่องจากครูบาอาจารย์ ทั้งในด้านการเรียนและในด้านความประพฤติจนครูเชื่อถือรักใคร่ให้ช่วยสอนเพื่อนนักเรียนแทนครูตลอด เป็นประจำทุกชั้นเรียน
หลังจากจบการศึกษาแล้ว อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดิน อยู่เป็นเวลา ๔ ปี จึงได้ลาออกเพื่อเตรียมอุปสมบท
กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้มีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมะมาแต่เด็ก นอกจากการวิ่งเล่นซุกซนสนุกสนานตามวิสัยเด็กน้อยแล้ว สำหรับนิสัยทางสร้างบาปสร้างกรรมไม่มีเลย ท่านเล่าเสมอว่าท่านไม่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ส่วนการหยิบฉวยลักขโมยนั้น แม้แต่เข็มสักเล่มเดียวก็ไม่เคยหยิบฉวยของใครเลย
เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ได้พบพระธุดงค์ มาปักกลดอยู่ใกล้บ้านก็บังเกิดความเลื่อมใสตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ "ไตรสรณาคมน์" ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แห่งวัดป่าสาละวัน นครราชสีมา มาให้ หนังสือนี้นอกจากสอนให้พุทธศาสนิกชน รู้จักการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริงแล้ว ได้สอนวิธีปฏิบัติภาวนาด้วย ท่านบังเกิดความคิดเลื่อมใสศรัทธา จึงจะลองปฏิบัติตามหนังสือนั้น เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรต่อ แล้วนั่งสมาธิหัดบริกรรม "พุทโธ ...พุทโธ...พุทโธ" จนกระทั่งปรากฏว่าจิตรวม จิตกับกายแยกกัน ไม่เหมือนกัน จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย
ท่านเล่าว่า เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง ด้วยหัดเอง ทำเอง ทำตามลำพังคนเดียวไม่มีผู้รู้มาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ได้แต่รู้สึกว่านั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใส เหมือนนั่งนอนอยู่อากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก นึกอยากจะภาวนาเสมอ ๆ ถ้าวันไหนใจไม่สบาย ก็ต้องเข้าที่นั่งภาวนา สงบใจเสมอ
ภายหลังระหว่างทำงานได้รับหนังสือ "จตุราลักษณ์" ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล มาอ่านเพิ่มเติมสติปัญญาอีก เมื่อท่านอ่านไปถึง มรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า เราก็ต้องมีตายอยู่นั่นเองและในหนังสือนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้ย้ำถึงเรื่องกรรมว่า คนเราต่อมมีกรรมเป็นของของคน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจักเป็นทายาทให้เราได้รับผลกรรมนั้นต่อ ๆ ไป คือ หมายความว่า กรรมต่อมจำแนกสัตว์ให้เป็นไปต่างๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ เมื่ออ่านกันถึงตอนนี้ ท่านก็บังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง นึกว่าคนเราที่เกิดมาถ้าไม่ประกอบคุณงามความดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก ศรัทธาในพระศาสนาก็เพิ่มพูนขึ้น เมื่ออายุเพียง 20 ปีถึงกับสละเงินที่เก็บหอมรอมริบระหว่างทำงานอยู่กรมทางหลวงทั้งหมดเป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว สร้างพระประธาน สร้างส้วม ในวัดจนหมดเงิน
เมื่อท่านอาจารย์อายุ 21 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌายะชื่อ บุ พระกัมมวาจาจารย์ชื่อ พระมหาแจ้ง ได้ฉายาว่า "จวน กลฺยาณธมฺโม" ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม และสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้น
ระหว่างที่บวชเป็นพระบ้านอยู่นั้น ท่านปรารถนาจะออกธุดงค์เจริญรอยยามพระธุดงคกัมมัฏฐานที่เคยกราบคารวะเมื่อยังเด็ก จึงคิดจะญัตติเป็นธรรมยุตเพื่อออกธุดงค์ เมื่อไปขอลาอุปัชฌาย์ท่านไม่ให้ญัตติให้สึกเสียก่อน ท่านจึงตัดสินใจลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาสก่อนชั่วคราว
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มีชาติกำเนิดในสกุล "นรมาส" เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ บ้านเหล่ามันแกว บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี
บิดาท่านชื่อ ลา มารดาชื่อ แหวะ สกุลเดิม วงศ์จันทร์ บรรพบุรุษของท่านอพยพมาจากเวียงจันทน์ เป็นอุปฮาดของเมืองเวียงจันทน์ เมื่อมีภัยสงครามเกิดขึ้น เวียงจันทน์แตก อุปฮาดผู้เป็นต้นตระกูลก็พาครอบครัวอพยพมา ครั้งแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองวัวลำภู ต่อมาย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง กระทั่งท้ายที่สุดมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
บิดามีอาชีพทำนา และมีความรู้ทางด้านสมุนไพรมาก เพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงได้อาศัยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย คือเป็นหมอประจำหมู่บ้าน เป็นที่รักใคร่นับถือ และได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งบิดาของท่านก็ดำรงตำแหน่งนี้มาตลอดจนถึงแก่กรรม ขณะนั้นท่านอายุได้ 16 ปี
ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คนด้วยกัน มีชื่อตามลำดับดังนี้
๑. นายเหีย นรมาส ถึงแก่กรรม
๒. นายแดง นรมาส
๓. นายโลน นรมาส ถึงแก่กรรม
๔. นางน้อยแสง หมายสิน
๕. นายอ่อนจันทร์ นรมาส.
๖. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
๗. นายนวล นรมาส
ตามชนบทในสมัยนั้นโรงเรียนมีน้อยมาก ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ในตำบลหนึ่ง ๆ มิได้มีโรงเรียนครบทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านใดไม่มีโรงเรียนเด็กก็ต้องมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนในหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งต้องเดินนับเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร ผู้ปกครองจะยอมให้บุตรหลานไปเรียนหนังสือจึงต้องให้โตพอประมาณ คือ อายุ ๙-๑๐ ท่านอาจารย์ก็เช่นเดียวกันเริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุครบ ๙ ขวบเต็ม ต้องเดินไปโรงเรียนที่อีกหมู่บ้าน คือที่บ้านดงมะยาง จนขึ้นชั้นประถมปีที่ ๓ โรงเรียน จึงย้ายมากอยู่ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ติดกับบ้านเหล่ามีนแกว อันเป็นบ้านเกิด ท่านได้เรียนรู้ที่โรงเรียนนี้จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของตำบลชนบทละแวกนั้น ระหว่างเรียนเป็นผู้เรียนดี ฉลาดและขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง สอบไล่ได้ที่ ๑ โดยตลอด ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ จนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับคำชมเชยยกย่องจากครูบาอาจารย์ ทั้งในด้านการเรียนและในด้านความประพฤติจนครูเชื่อถือรักใคร่ให้ช่วยสอนเพื่อนนักเรียนแทนครูตลอด เป็นประจำทุกชั้นเรียน
หลังจากจบการศึกษาแล้ว อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดิน อยู่เป็นเวลา ๔ ปี จึงได้ลาออกเพื่อเตรียมอุปสมบท
กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้มีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมะมาแต่เด็ก นอกจากการวิ่งเล่นซุกซนสนุกสนานตามวิสัยเด็กน้อยแล้ว สำหรับนิสัยทางสร้างบาปสร้างกรรมไม่มีเลย ท่านเล่าเสมอว่าท่านไม่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ส่วนการหยิบฉวยลักขโมยนั้น แม้แต่เข็มสักเล่มเดียวก็ไม่เคยหยิบฉวยของใครเลย
เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ได้พบพระธุดงค์ มาปักกลดอยู่ใกล้บ้านก็บังเกิดความเลื่อมใสตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ "ไตรสรณาคมน์" ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แห่งวัดป่าสาละวัน นครราชสีมา มาให้ หนังสือนี้นอกจากสอนให้พุทธศาสนิกชน รู้จักการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริงแล้ว ได้สอนวิธีปฏิบัติภาวนาด้วย ท่านบังเกิดความคิดเลื่อมใสศรัทธา จึงจะลองปฏิบัติตามหนังสือนั้น เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรต่อ แล้วนั่งสมาธิหัดบริกรรม "พุทโธ ...พุทโธ...พุทโธ" จนกระทั่งปรากฏว่าจิตรวม จิตกับกายแยกกัน ไม่เหมือนกัน จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย
ท่านเล่าว่า เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง ด้วยหัดเอง ทำเอง ทำตามลำพังคนเดียวไม่มีผู้รู้มาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ได้แต่รู้สึกว่านั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใส เหมือนนั่งนอนอยู่อากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก นึกอยากจะภาวนาเสมอ ๆ ถ้าวันไหนใจไม่สบาย ก็ต้องเข้าที่นั่งภาวนา สงบใจเสมอ
ภายหลังระหว่างทำงานได้รับหนังสือ "จตุราลักษณ์" ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล มาอ่านเพิ่มเติมสติปัญญาอีก เมื่อท่านอ่านไปถึง มรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า เราก็ต้องมีตายอยู่นั่นเองและในหนังสือนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้ย้ำถึงเรื่องกรรมว่า คนเราต่อมมีกรรมเป็นของของคน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจักเป็นทายาทให้เราได้รับผลกรรมนั้นต่อ ๆ ไป คือ หมายความว่า กรรมต่อมจำแนกสัตว์ให้เป็นไปต่างๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ เมื่ออ่านกันถึงตอนนี้ ท่านก็บังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง นึกว่าคนเราที่เกิดมาถ้าไม่ประกอบคุณงามความดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก ศรัทธาในพระศาสนาก็เพิ่มพูนขึ้น เมื่ออายุเพียง 20 ปีถึงกับสละเงินที่เก็บหอมรอมริบระหว่างทำงานอยู่กรมทางหลวงทั้งหมดเป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว สร้างพระประธาน สร้างส้วม ในวัดจนหมดเงิน
เมื่อท่านอาจารย์อายุ 21 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌายะชื่อ บุ พระกัมมวาจาจารย์ชื่อ พระมหาแจ้ง ได้ฉายาว่า "จวน กลฺยาณธมฺโม" ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม และสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้น
ระหว่างที่บวชเป็นพระบ้านอยู่นั้น ท่านปรารถนาจะออกธุดงค์เจริญรอยยามพระธุดงคกัมมัฏฐานที่เคยกราบคารวะเมื่อยังเด็ก จึงคิดจะญัตติเป็นธรรมยุตเพื่อออกธุดงค์ เมื่อไปขอลาอุปัชฌาย์ท่านไม่ให้ญัตติให้สึกเสียก่อน ท่านจึงตัดสินใจลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาสก่อนชั่วคราว