E-Books

ค้นหา

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
5516390

whosonline

มี 246 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

พระประวัติและปฏิปทา

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


   สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๗ 

วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร
แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

พระประวัติในเบื้องต้น

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)สมเด็จพระสังฆราชพระ

องค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามเดิมว่า “ศรี” (บางตำราเขียนว่า “สี”)

พระประวัติในเบื้องต้นมีความเป็นมาอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดทราบ

แต่เพียงว่า       เดิมเป็นเพียงพระอาจารย์ศรี ทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัด

พนัญเชิง อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่

พม่าในแผ่นดิน  พระเจ้าเอกทัศน์พระสงฆ์ถูกฆ่า วั  ดวาอาราม พระไตรปิฎก

ถูกเผาทำลายวอดวายจนสิ้นเชิงพระภิกษุสามเณรต่างก็พากันหลบภัยไปอยู่

ตามวัดต่างๆ ในต่างจังหวัดพระอาจารย์ศรีก็ได้หลบภัยสงครามไปจำพรรษา

อยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนครศรีธรรมราช ที่ซึ่งพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง

มาโดยตลอด

 

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงยกทัพไป

ปราบก๊กเจ้านครซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่    ที่เมืองนครศรีธรรมราชจึงได้อาราธนา

พระอาจารย์ศรี           ขึ้นมาจำพรรษาอยู่    ณ วั  ดบางหว้าใหญ่(ปัจจุบันคือ

วัดระฆังโฆสิตาราม)         เนื่องด้วยทรง คุ้นเคยและรู้จักเกียรติคุณของพระ

อาจารย์ศรี มาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น  พระอาจารย์ดี ทรง

ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ก่อนแต่ต่อมาภายหลัง สมเด็จพระเจ้า

ตากสินมหาราชทรงทราบว่าพระอาจารย์ดีเคยบอกที่ซ่อนทรัพย์ของผู้อื่น

ให้แก่พม่าเมื่อเวลาถูกขังอยู่    จึงโปรดให้ถอดออกจากตำแหน่งสมเด็จพระ

สังฆราชแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ       สถาปนา พระอาจารย์ศรีขึ้น

เป็น สมเด็จพระสังฆราช แทน ในพ.ศ. ๒๓๑๒ นั้นเองนับเป็นสมเด็จพระสังฆ

ราชพระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงธนบุรี

  ทรงถูกถอดจากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช

ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๒๔ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ได้ถูกถอดจากตำแหน่งเนื่องจากได้ถวายวิสัชนา

ร่วมกับ พระพุฒาจารย์ วัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทราราม) และพระพิมลธรรม

วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนหรือวัดโพธิ์) เรื่องพระสงฆ์ปุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์

ที่เป็นอริยบุคคลเนื่องจากคฤหัสถ์เป็นหินเพศต่ำ พระสงฆ์เป็นอุดมเพศที่

สูงเพราะทรงผ้ากาสาวพัสตร์และพระจาตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ ดังความว่า

“ถึงมาตรว่าคฤหัสถ์เป็นพระโสดาก็ดี แต่เป็นหินเพศต่ำอันพระสงฆ์ ถึงเป็น

ปุถุชน ก็ตั้งอยู่ในอุดมเพศอันสูงเหตุทรงผ้ากาสาวพัสตร์ และพระจตุปาริสุทธิ

ศีลอันประเสริฐซึ่งจะไหว้นบคฤหัสถ์ อันเป็นพระโสดานั้นก็บ่มิควร”

ข้อวิสัชนาดังกล่าวนี้ไม่ต้องพระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระองค์จึงให้

ถอดเสียจากตำแหน่งพระสังฆราชลงมาเป็นพระอนุจร (พระธรรมดา)แล้วทรง

ตั้งพระโพธิวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชและตั้งพระพุทธโฆษาจารย์

เป็นพระวันรัตเหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) และ

พระราชาคณะทั้งสองรูปดังกล่าว เป็นพระเถระที่เคร่งครัดมั่นคงในพระธรรม

วินัยแม้จะต้องเผชิญกับราชภัยอันใหญ่หลวงก็มิได้หวั่นไหวนับเป็นพระ

เกียรติคุณที่สำคัญประการหนึ่งของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น



Image
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑

 



ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชครั้งที่ ๒

ครั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกและ

สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้คืนสมณฐานันดรศักดิ์และตำแหน่งดังเดิมให้แก่สมเด็จพระอริยวงษญาณ

สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)    ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร

ดังนี้

“ทรงพระราชดำริว่า ฝ่ายข้างอาณาจักรได้แต่งตั้งข้าราชการตามตำแหน่ง

เสร็จแล้วควรจะจัดการข้างฝ่ายพุทธจักร ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาซึ่งเสื่อม

ทรุดเศร้าหมองนั้นให้วัฒนารุ่งเรืองสืบไปจึงดำรัสให้สึกพระวันรัต (ทองอยู่)

กับพระรัตนมุนี(แก้ว) ออกเป็นฆราวาสดำรัสว่าเป็นคนอาสัตย์สอพลอทำให้เสีย

แผ่นดิน.....ดำรัสให้สมเด็จพระสังฆราช พระพุฒาจารย์ และพระพิมลธรรม ซึ่ง

เจ้ากรุงธนบุรีให้ลงโทษถอดเสียจากพระราชาคณะ เพราะไม่ยอมถวายบังคม

นั้นโปรดให้คงที่สมณฐานันดรศักดิ์ดังเก่า ให้คืนไปอยู่ครองพระอารามตามเดิม

และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกรมพระราชวังบวรสถานมงคลรัสสรร

เสริญว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์นี้ มีสันดานสัตย์ซื่อมั่นคงดำรงรักษาพระ

พุทธศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิตควรเป็นที่นับถือไหว้นบเคารพ

สักการบูชา แม้มีข้อสงสัยสิ่งใดในพระบาลีไปภายหน้าจะให้ประชุมพระราชา

คณะไต่ถาม ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามว่าอย่างไรแล้วพระราชาคณะอื่นๆ จะว่า

อย่างอื่นไป ก็คงจะเชื่อถ้อยคำพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามซึ่งจะเชื่อถือฟังความตาม

พระราชาคณะอื่นๆที่เป็นพวกมากนั้นหามิได้ ด้วยเห็นใจเสียครั้งนี้แล้ว”

ความในพระราชดำรัสดังปรากฏในพระราชพงศาวดารข้างต้นนี้ย่อมเป็นที่ประ

จักษ์ว่า สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) เป็นที่ทรงเคารพนับถือของพระบาทสมเด็จพระ

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นอัน

มากทั้งเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในการที่จะฟื้นฟูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป เป็นปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้ทรงพระราชดำริในอันที่จะ

ทำสังคายนาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เพื่อเป็นหลักของพระพุทธศาสนา

ในพระราชอาณาจักร ยั่งยืนสืบไปชั่วกาลนานและโดยที่เป็น

ที่ทรงเคารพนับถือและเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยดังกล่าวแล้ว

จึงกล่าวได้ว่า สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) คงจักทรงเป็นกำลังสำคัญในการชำระ

และฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในครั้งรัชกาลที่ ๑ เป็นอย่างมากทั้งในด้านความประ

พฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรการบูรณปฏิสังขรณ์พุทธสถาน การชำระ

ตรวจสอบพระไตรปิฎกให้ถูกถ้วนบริ-บูรณ์ตลอดถึงในด้านความประพฤติปฏิบัติ

ในทางที่ถูกที่ควรของพุทธศาสนิกชนทั่วไปดังจะเห็นได้ว่าในระหว่างที่ สมเด็จ

พระสังฆราช (ศรี) ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้นได้ทรงมีพระราชปุจฉา

เกี่ยวกับการพระศาสนาด้านต่างๆไปยังสมเด็จพระสังฆราชมากกว่า ๕๐ เรื่อง
สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พร้อมด้วยพระสงฆ์ราชาคณะก็ได้ถวายพระพรแก้พระ

ราชปุจฉา เป็นที่ต้องตามพระราชประสงค์ทุกประการ

สิ่งแสดงถึงพระราชศรัทธาเคารพนับถือในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา

โลกมหาราชที่ทรงมีต่อสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) อีกประการหนึ่งก็คือเมื่อทรงตั้ง

เป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วได้โปรดเกล้าฯให้รื้อตำหนักทองของสมเด็จพระเจ้า

กรุงธนบุรีไปปลูกเป็นกุฎีถวาย ณ วัดบางว้าใหญ่แต่น่าเสียดายที่ตำหนักทองนี้ถูก

ไฟไหม้เสียเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๓


 

 

 

วิดีโอ

WatpaLA-Youtube

Copyright ©2554 วัดป่าธรรมชาติ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา